"คาร์บอนฟุตพริ้นท์" หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ความเป็นมา
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้พลังงาน การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน และนับวันปัญหาดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในส่วนขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ดังนั้นประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจึงให้ความสนใจในการประเมินการใช้พลังงาน และก๊าซเรือนกระจกในองค์กรต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับหน่วยงาน บริษัท หรือโรงงานระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ
ดังนั้นรายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อประเมินก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรของบริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด โดยใช้ “แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” เป็นแนวทางในการประเมิน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากรายงานสามารถนำไปช่วยส่งเสริมให้องค์กรตระหนักถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต ตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด ในส่วนของการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในการเข้าร่วมโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในครั้งนี้ ทางบริษัทมีจุดประสงค์เพื่อรับการทวนสอบและรับรองผลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ระดับจำกัด (Limited Assurance Level) และระดับความเชื่อมั่น 95% โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) โดยก๊าซที่ติดตามผล ได้แก่ CO2 CH4 N2O HFCs PFCs SF6 NF3
นโยบายด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก(CARBON FOOTPRINT POLICY)
บริษัท ยูนิเวอร์แซล โพลีแบค จำกัด มีมุมมองในการดำเนินธุรกิจภายใต้ นโยบายด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก CARBON FOOTPRINT POLICY โดยใช้องค์ประกอบหลัก ของหลักการการเพิ่มผลผลิต (PRODUCTVITY) PQCDSMEE 7 ประการ โดย แปลงนโยบายด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ไปสู่การปฏิบัติผ่านหลักการ 3P ในการบริหารจัดการองค์กร
ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม และ ความสอดคล้องของนโยบายด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ผ่านหลักการ 3P องค์กรขอขยายความให้ที่เกี่ยวข้องทราบดังต่อไปนี้
1. PEOPLE คือ ดูแลและใส่ใจพนักงาน
บริษัทมีนโยบายที่จะตอบสนองให้พนักงานเห็นถึง ความมุ่งมั่นขององค์กร ในการดูแลใส่ใจพนักงาน ผ่าน S : SAFETY (สร้างความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงาน) และ M : MORAL (การสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานอย่างต่อเนื่องด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆโดยเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม)
2. PLANET คือ การดำเนินธุรกิจโดยการใส่ใจโลก กล่าวคือ ดำเนินธุรกิจโดยไม่ทำร้ายโลกและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นโยบายที่บ่งบอกให้เห็นถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อมคือ E : ENVIRONMENT (การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม) E : ETHIC หรือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ผ่าน ระบบการจัดการพลังงาน ENERGY CONSERVATION MANAGEMNT (การจัดการด้านพลังงาน) ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกขององค์กรด้วย
3. PROFIT คือการดำเนินธุรกิจโดยมีผลกำไร
บริษัทสร้างผลกำไรและความเชื่อมั่นจากลูกค้าภายใต้ P : PRODUCTIVITY (ประสิทธิภาพสูง) Q : QUALITY
(การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ) C: COST (ต้นทุนการผลิตต่ำ) และ D: DELIVERY ON TIME (การส่งมอบตรงเวลา)
ทางบริษัท มีการมุ่งเน้นการบริหารธุรกิจแบบยั่งยืน และรับผิดชอบ ทางฝ่ายบริหารจึงได้ประกาศนโยบายด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก รวมถึง มีการแต่งตั้งคณะคณะทำงาน เพื่อจัดการเรื่องการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกผ่านหลักการ PQCDSMEE และ หลักการ 3P ดังกล่าวข้างต้น