ความเป็นมา


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

  • วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.1948 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right: UDHR) โดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ ถือเป็นการกำหนดมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ร่วมกับประเทศต่าง ๆ ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
  • สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
  • สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานทำ การแสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น)
  • วันแห่งสิทธิมนุษยชนโลก ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม

หน่วยงานในสหประชาชาติ (UN) ที่รับผิดชอบปัญหาสิทธิมนุษยชน (HR) คือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ที่เจนีวา ( ชื่อเดิมคือ Centre for Human ights) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย

ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 5 ฉบับได้แก่

  • อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
  • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
  • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
  • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  • อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ